เพื่อพัฒนาระบบการเรียน JaLearn ได้ย้ายระบบคอร์สออนไลน์ไปที่เว็บไซต์ใหม่ http://jalearn.co/courses สำหรับผู้เรียนเก่าแจ้งที่ Line: @jalearn เพื่อย้ายข้อมูล

การทำหนังสือ 1 เล่ม ควรรู้อะไรบ้าง?

สิ่งที่ควรรู้ในการเริ่มต้นทำหนังสือทำมือ เรื่องกระดาษหน้ายก การคำนวณหน้ายก ระบบกริด และประเภทของกริด เป็นคำที่จะใช้กันในวงการสื่อสิ่งพิมพ์
book handmade

หัวข้อในเรื่องนี้

หลาย ๆ คนที่อยากจะเริ่มทำหนังสือสักเล่มเป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่รู้ว่ามีอะไรที่เราจะต้องโฟกัสเป็นพิเศษรึป่าว หรือเราต้องรู้อะไรในการทำหนังสือบ้าง เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการทำได้มากขึ้น วันนี้เราเลยรวมสิ่งที่ควรรู้ในการเริ่มต้นทำหนังสือมาให้ได้ดูกัน ซึ่งสิ่งแรกที่เราจะต้องรู้คือคำที่โรงพิมพ์มักจะใช้เรียกกัน

กระดาษหน้ายก

เป็นจำนวนของหน้าหนังสือ ที่เป็นกระดาษขนาดมาตรฐานที่โรงพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้ เพื่อให้งาน พิมพ์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบและภาพออกมาได้สัดส่วน ซึ่งส่วนมากจะใช้กระดาษขนาด 1 ใน 4 ของกระดาษมาตรฐาน 43 นิ้ว x 31 นิ้ว โดยจำนวนหน้าที่ได้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ซึ่งมีขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว

การคำนวนหน้ายก

พับ 1 ครั้ง  = 4 หน้า = สิ่งพิมพ์ขนาด 4 หน้ายก พับ 2 ครั้ง = 8 หน้า = สิ่งพิมพ์ขนาด 8 หน้ายก
book handmade
book handmade

การออกแบบหน้าหนังสือด้วยระบบกริด

ระบบกริดหรือเส้นกริดถือว่าเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญมาก ๆ เพราะจะเป็นแม่แบบเพื่อใช้ในการกำหนดตำแหน่งภาพ เนื้อหา ช่องว่าง หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้งานออกมามีความต่อเนื่อง เป็นระเบียบ และสวยงามตามที่เราต้องการครับ
book handmade

ประเภทของกริด

ประเภทของกริดจะเป็นเหมือนรูปแบบเพื่อให้เราสามารถนำไปจัดเลเอาท์ต่าง ๆ ในหน้าหนังสือ ให้มีความสอดคล้องกันได้ ซึ่งรูปแบบพื้นฐานของกริดหลักๆ จะมีอยู่ 4 ประเภท

1.เมนูสคริปต์กริด (Manuscript Grid) 

เป็นกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายที่เป็นบล็อกใหญ่บล็อกเดียว หรือคอลัมน์เดียว ซึ่งอาจจะเรียกอีกอย่างว่า บล็อกกริด (Block Grid) โดยรูปแบบกริดประเภทนี้จะใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีแต่เนื้อหาหรือตัวหนังสือเป็นหลัก เช่น หนังสือนวนิยาย ตำรา หรือจดหมายข่าว  แต่ก็สามารถใช้ภาพมาปรับแต่งหรือวางประกอบกันได้ เพื่อให้เปิดอ่านแล้วดูน่าสนใจ และไม่จำเจ
book handmade

2.คอลัมน์กริด (Column Grid)

เป็นรูปแบบกริดที่มีมากกว่าหนึ่งคอลัมน์ในหนึ่งหน้า และจะมีความสูงเกือบสุดขอบของชิ้นงาน และมีความกว้างของแต่ละคอลัมน์ ที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน หรือจัดวางให้มีความกว้างของคอลัมน์เท่ากันหรือมากกว่าก็ได้ โดยรูปแบบกริดนี้มักถูกนำไปใช้ใน นิตยสาร แคตตาล็อก และโบรชัวร์
book handmade

3.โมดูลาร์กริด (Modular Grid)

เป็นรูปแบบกริดที่ประกอบด้วยโมดูลหลาย ๆ โมดูล โดยโมดูลาร์กริดนี้เป็นรูปแบบที่สามารถนำไปจัดเลย์เอาท์ได้อย่างหลากหลาย สามารถผสมผสานภาพกับข้อความเป็นชุด ๆ แล้วจัดแบ่งเรื่องราวหลาย ๆ อย่างได้
book handmade

4.ไฮราซิคัลกริด (Hierarchical Grid)

เป็นรูปแบบกริดที่มีความซับซ้อนที่สุด ซึ่งหน้าตาของมันจะคล้ายกับโมดูลาร์กริดที่จัดวางในหน้าเดียวกัน  และมักใช้เมื่อเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ไม่สามารถใช้กริดรูปแบบอื่น ๆ ได้แล้ว ซึ่งจะเหมาะกับงานที่ต้องการความเป็นอิสระมาก ๆ เช่น โปสเตอร์หนัง หน้าปกนิตยสาร หรือการอ่านหน้าเดียวแล้วรู้เรื่อง เป็นต้น
book handmade

นอกจากคำที่มักจะใช้กันในวงการสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว เราก็ต้องศึกษาเทคนิคหรือวิธีต่าง ๆ ให้ดีจะได้ทำหนังสือของเราออกมาได้อย่างมีคุณภาพและสมบูรณ์แบบมากที่สุดนั่นเอง และเราก็ยังมี เทคนิคออกแบบปกหนังสือ ไว้ทำให้ปกหนังสือของเรามีความสวยงามและน่าสนใจ จะได้ดึงดูดให้คนหยิบอ่านของเรานั่นเอง

อยากอ่านต่อ

คอนเทนต์ใหม่ล่าสุด

สอน Online Workshops จากทีม JaLearn

ในช่วง โควิด-19 ทาง JaLearn ได้จัดการสอน Workshop แบบออนไลน์ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ในหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างมีคุณภาพ มีอะไรบ้างมาดูกัน

วิธีทำ 3D ง่าย ๆ ด้วย Ai

ใครว่า 3D ทำยาก!! วันนี้ทาง Jalearn ได้หาขั้นตอนการทำ 3D ง่าย ๆ ใน Ai เพียงไม่กี่ขั้นตอนมาฝากทุกคน เผื่อใครที่กำลังรู้สึกอยากเพิ่มลูกเล่นให้งานให้ดูมีอะไรมากยิ่งขึ้น

Scroll to Top
Logo JL 2

เข้าสู่ระบบเพื่อเริ่ม Learn