เพื่อพัฒนาระบบการเรียน JaLearn ได้ย้ายระบบคอร์สออนไลน์ไปที่เว็บไซต์ใหม่ http://jalearn.co/courses สำหรับผู้เรียนเก่าแจ้งที่ Line: @jalearn เพื่อย้ายข้อมูล

การเว้นระยะห่างในงานออกแบบ

การดูความสำคัญของพื้นที่ว่างที่เกิดจากการเว้นระยะห่างว่าสำคัญกับงานออกแบบอย่างไร โดยเฉพาะกับส่วนของเนื้อหาว่าการเว้นระยะระหว่างตัวอักษร คำ และบรรทัดที่ช่วยให้ภาพรวมของงานให้ดีขึ้น
การเว้นระยะห่าง

หัวข้อในเรื่องนี้

ในงานออกแบบ นอกจากองค์ประกอบต่าง ๆ แล้ว ระยะห่างก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานออกแบบให้โดดเด่นขึ้นและยังทำให้งานออกมาสมดุล อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายและไวขึ้น สื่อสารออกไปได้ตรงจุด ทำให้ผู้อ่านรู้ว่าส่วนไหนคือหัวข้อ เนื้อหา ภาพอธิบาย และแยกได้ว่าส่วนไหนคือเนื้อหาหัวข้ออื่น การเว้นระยะห่างทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทครับ

1. ระยะช่องไฟระหว่างคำ (Word Spacing)

เป็นการกำหนดการเว้นระยะห่างระหว่าง คำ 1 – คำ 2 และต่อ ๆ ไป โดยไม่ต้องสนว่าคำนั้น ๆ จะมีกี่ตัวอักษร โดยทั่วไประยะห่างจะอยู่ที่ 1 ตัวอักษร เพื่อไม่ให้ใกล้หรือไกลกันเกินไป ถ้าการเว้นระยะห่างระหว่างคำน้อยเกินไปจะทำให้อ่านคำนั้น ๆ ได้ยาก รวมถึงมีโอกาสที่ความหมายจะเปลี่ยน นอกจากนี้ยังทำให้ระเบียบโดยรวมของเนื้อหาไม่สวยด้วยครับ
การเว้นระยะห่าง

2. ระยะช่องไฟระหว่างตัวอักษร (Letter Spacing)

เป็นการกำหนดการเว้นระยะห่างระหว่าง ตัวอักษร 1 – ตัวอักษร 2 และต่อ ๆ ไป ให้มีระยะที่พอดีโดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภท Typeface ด้วยว่าเป็นแบบใด เพราะในแต่ละ Typeface จะมีระยะที่พอดีไม่เท่ากัน การกำหนดระยะห่างจะทำให้อ่านตัวอักษรแต่ละตัวได้ง่าย ไม่ซ้อนทับกัน
การเว้นระยะห่าง

3. ระยะช่องไฟระหว่างบรรทัด (Line Spacing)

เป็นการกำหนดการเว้นระยะห่างระหว่าง บรรทัด 1 – บรรทัด 2 และต่อ ๆ ไป โดยทั่วไปจะกำหนดที่ 0-3 pt (point) แต่หลักสำคัญคือ เมื่อวางตัวอักษรหรือคำลงในบรรทัดแล้ว วรรณยุกต์ สระ และความสูงของตัวอักษรบางตัว (ในภาษาไทย) จะต้องไม่ซ้อนทับกัน เช่นเดียวกันกับภาษาอื่น ๆ ความยาวของตัวอักษรทั้งด้านบนและด้านล่าง เมื่อวางแล้วจะต้องไม่ซ้อนกัน เช่น ตัว j l q g f เป็นต้น
การเว้นระยะห่าง

ประโยชน์ระยะห่างในงานออกแบบ

การเว้นระยะห่าง

1. ทำให้อ่านออกง่าย

การเว้นระยะห่าง ทำให้เกิดพื้นที่ระหว่างองค์ประกอบบางอย่าง เช่น หัวข้อ – เนื้อหา, หัวข้อ – รูปภาพ, เนื้อหา – รูปภาพ, เนื้อหา – เนื้อหา เป็นต้น ระยะห่างส่วนนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายว่าส่วนไหนคือส่วนหัวข้อ หรือเนื้อหา รวมถึงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบได้ด้วย ทำให้จำแนกได้ว่าส่วนไหนสำคัญกว่าและส่วนไหนรองลงมา

2. จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา

การเว้นระยะห่าง ทำให้จำแนกได้ว่า เนื้อหาส่วนนี้เป็นของหัวข้อใด โดยอาศัยระยะห่างที่ไม่เท่ากันนั่นเอง เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดจะมีระยะห่างที่น้อยกว่าระยะห่างของอีกหัวข้อหนึ่ง ระยะห่างเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเกี่ยวข้องกัน ยิ่งระยะห่างน้อยก็ยิ่งเกี่ยวข้องมาก

3. เพิ่มความน่าสนใจ

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การเว้นระยะห่างยังเป็นการเว้นพื้นที่ว่าง เพื่อให้สิ่งที่ต้องการสื่อโดดเด่นออกมาอย่างชัดเจน ไม่มีอะไรมาแย่งความสนใจไป รวมถึงเป็นการทิ้งอารมณ์และความรู้สึกในการเสพผลงานก่อนจะไปถึงส่วนถัดไป

ในส่วนนี้สามารถพบเจอได้กับงานออกแบบสไตล์มินิมอล งานแสดงภาพถ่าย งานแอนิเมชัน และงานภาพยนตร์ได้ค่อนข้างมาก

การเว้นระยะห่าง สามารถทำให้งานน่าสนใจได้มากขึ้นจริงๆ ในส่วนของเนื้อหานอกจากจะทำให้อ่านได้ง่าย ยังสามารถแยกหมวดหมู่ได้ด้วย นอกจากทำให้งานน่าสนใจ โดดเด่น และแสดงความสำคัญขององค์ประกอบได้ว่าส่วนไหนสำคัญมากหรือน้อยกว่า ทำให้สื่อสารออกมาได้ตรงตามเป้าหมายนั่นเองครับ

อยากอ่านต่อ

คอนเทนต์ใหม่ล่าสุด

สอน Online Workshops จากทีม JaLearn

ในช่วง โควิด-19 ทาง JaLearn ได้จัดการสอน Workshop แบบออนไลน์ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ในหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างมีคุณภาพ มีอะไรบ้างมาดูกัน

วิธีทำ 3D ง่าย ๆ ด้วย Ai

ใครว่า 3D ทำยาก!! วันนี้ทาง Jalearn ได้หาขั้นตอนการทำ 3D ง่าย ๆ ใน Ai เพียงไม่กี่ขั้นตอนมาฝากทุกคน เผื่อใครที่กำลังรู้สึกอยากเพิ่มลูกเล่นให้งานให้ดูมีอะไรมากยิ่งขึ้น

Scroll to Top
Logo JL 2

เข้าสู่ระบบเพื่อเริ่ม Learn