หลังจากที่เราทำหนังสือเป็นรูปเป็นร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเตรียมพิมพ์หนังสือ ซึ่งก็จะมีสิ่งที่เราควรคำนึงถึง เพื่อที่จะได้ทำหนังสือออกมาได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบมากที่สุด
1. วัสดุการทำปกหนังสือ
การเลือกใช้วัสดุสำหรับทำปกหนังสือ จะมีความแตกต่างกันไป ทั้งความทนทาน ความเรียบลื่นหรือเงางาม ก็จะมีทั้งกระดาษสะท้อนแสง/กระดาษอาร์ตหรือการ์ด เป็นต้น
2. วัสดุกระดาษเนื้อหาด้านใน
เป็นสิ่งที่สำคัญมากพอๆกับหน้าปก เพราะความหนาของหนังสือนั้นสามารถเรียงได้ตามน้ำหนัก จากน้ำหนักเบา ถึงน้ำหนักมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของเรา
3. การเคลือบชิ้นงาน (Lamination)
ขั้นตอนการทำชิ้นงาน ที่ใช้พลาสติกเคลือบทับกระดาษ ส่วนมากใช้กับปกหนังสือ เป็นการทำให้กระดาษมีความทนทานและมีความมืออาชีพมากยิ่งขี้น
- เคลือบแบบด้าน เคลือบเรียบ ทำให้หนังสือของคุณดูพรีเมี่ยม
- เคลือบแบบมันวาว เคลือบเงา สะท้อนแสงและทำให้เนื้อหาของคุณโดดเด่น
4.การเข้าเล่ม
เราสามารถเลือกได้ตามแบบที่เราต้องการ ซึ่งจะมีแบบเข้าเล่มได้หลายอย่าง
แบบเย็บมุงหลังคา ใช้ที่เย็บกระดาษมาเย็บกระดาษเข้าด้วยกันและพับกระดาษให้เป็นหนังสือ
แบบสันกาว ใช้หน้าปกและหน้ากระดาษมาเข้าเล่มโดยการใช้กาว
แบบปกแข็ง(จั่วปัง) เป็นแบบการเข้าเล่มเดียวกันกับแบบสันกาวแต่ใช้หน้าปกแบบแข็ง
แบบกระดูกงู เป็นการใช้ห่วงเหล็กมาเข้าเล่ม
5.ปกหนังสือ
การทำหนังสือให้ดีนั้น นอกจากเนื้อหาจะต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านแล้ว ปกหนังสือก็ต้องมีความสวยงามเพื่อให้หนังสือของเราออกมาโดดเด่น และสวยสะดุดตา เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่อยากจะสัมผัส หรือหยิบขึ้นมาอ่าน มีการรับทำปกหนังสือไม่ว่าจะเป็นการวาด การคราฟท์ หรือการแแกแบบจัดวาง จะเป็นแบบตัวอักษรอย่างเดียว หรือมีภาพประกอบทั้งแบบรูปจริงๆ และรูปวาดอยู่ที่เราคัดสรรและชื่นชอบ
ในปัจจุบันมีการทำปกหนังสือมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือการทำปกสวม ( Jacket cover )ที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป อาจเพื่อความเหมาะสมในสาธารณะหรือเพื่อสะสมปกที่มีการดีไซน์ใหม่ เป็นต้น
6.ขนาดของหนังสือ
มีหนังสือมากมายหลายขนาดให้เลือก แต่ขนาดที่พบมากที่สุด คือเล่มขนาด A4 และ A5 เพราะเป็นขนาดมาตรฐาน หากเราต้องการให้เป็นหนังสือเล่มเล็กเพื่อให้พกพาได้อย่างสะดวก แนะนำขนาด A5 หรือเล็กกว่า(ขนาด B6)
7.ระบบงานพิมพ์
ในการพิมพ์งานจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ทั้งการพิมพ์ระบบดิจิตอล และพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ซึ่ง 2 ตัวนี้จะมีรูปแบบการพิมพ์ที่ต่างกัน แม้ว่าจะไม่แตกต่างกันมากแต่ถ้าเรารู้จุดแตกต่างหรือจุดเด่น เราก็จะสามารถเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ และต้องตามความต้องการของเรา
งานพิมพ์ระบบดิจิตอล ( Digital Offset Printing )
เป็นการพิมพ์จากไฟล์แผ่นต่อแผ่น (On Demand) งานที่ได้จะมีคุณภาพ รวดเร็ว แค่มีไฟล์ Artwork ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้เลย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เหมาะสำหรับงานพิมพ์จำนวนไม่มากนัก เช่น นามบัตร แผ่นพับ ใบปลิว สติ๊กเกอร์ ป้ายแท็กสินค้า การ์ดเชิญ หนังสือ เป็นต้น
งานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ( Offset Printing )
จะมีต้นทุนต่อหน่วยน้อยกว่าระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล ทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งถูกลงมากเท่านั้น แต่ใช้เวลานานเนื่องจากเครื่องพิมพ์ต้องทำเพลทงานพิมพ์ แยกสีก่อนพิมพ์ และเครื่องพิมพ์ก็มักจะมีราคาสูงกว่าด้วย เช่น ใบปลิว แผ่นพับ โบรชัวร์ หนังสือ วารสาร นิตยสาร แคตตาล็อก งานพิมพ์ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น
สุดท้ายนี้เราควรเตรียมตัวเพื่อให้ขั้นตอนการทำหนังสือของเราตีพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว หรือประหยัดเวลาและต้นทุนของเราได้มากที่สุดครับ