เพื่อพัฒนาระบบการเรียน JaLearn ได้ย้ายระบบคอร์สออนไลน์ไปที่เว็บไซต์ใหม่ http://jalearn.co/courses สำหรับผู้เรียนเก่าแจ้งที่ Line: @jalearn เพื่อย้ายข้อมูล

ขั้นตอนเตรียมไฟล์งานก่อนส่งให้โรงพิมพ์

ขั้นตอนการเตรียมไฟล์ส่งให้โรงพิมพ์ ถ้าเราเตรียมไฟล์ได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยลดความผิดพลาดและลดเวลาในการพิมพ์ลงได้ แต่จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง เราไปดูกัน
00 100 1

หัวข้อในเรื่องนี้

วันนี้เรามีขั้นตอนสำหรับการเตรียมไฟล์งานก่อนส่งให้โรงพิมพ์ เพราะถ้าเราเตรียมไฟล์ได้อย่างถูกต้องจะทำให้ลดความผิดพลาดก่อนส่งพิมพ์ได้ และยังช่วยประหยัดเวลา เพราะถ้าไฟล์มีปัญหาตอนส่งให้โรงพิมพ์ เช่นโหมดสีไม่ถูกต้อง ฟอนท์เพี้ยน รูปเปิดไม่ได้ หรือความละเอียดคมชัดไม่ได้ เราจะต้องเสียเวลาทำการแก้ไขก่อน ถึงจะสั่งพิมพ์งานจริงได้ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าการเตรียมไฟล์งานก่อนส่งให้โรงพิมพ์นั้น  มีอะไรที่สำคัญและเราควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ปรับเป็นโหมด CMYK

งานที่ต้องการจะส่งให้โรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ชิ้นงาน ไฟล์งานควรอยู่ในโหมด CMYK เพื่อที่เวลาพิมพ์ออกมา ผลงานจริงกับสีในจอจะได้ตรงกัน

Pre Printery1

แบ่งเป็น 2 โปรแกรมหลักๆที่ใช้กันคือ Photoshop (.psd ) และ Illustrator (.ai) 

  1. วิธีการตั้งค่าด้วยโปรแกรม Photoshop ตั้งค่าตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์งานใหม่ : เข้าไปที่ File > New > Color Mode > เลือก CMYK
  2. วิธีการตั้งค่าด้วยโปรแกรม Illustrator ตั้งค่าตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์งานใหม่ : เข้าไปที่ File   >  New  >  หัวข้อ Advanced  >  ตรง Color Mode  >  เลือก CMYK
  3. ตั้งค่าตอนสร้างงาน   :   เข้าไปที่ File   >  Document Color Mode  >  เลือก CMYK
Pre Printery2
Pre Printery3

2. ตั้งค่าความละเอียดของไฟล์ (File Resolution)

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ก่อนจะส่งงานให้โรงพิมพ์ ควรตรวจสอบ Resolution ก่อน  ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น DPI (Dots Per Inch) หรือ PPI (Pixels Per Inch) ยิ่ง DPI หรือ PPI มาก ความละเอียดและความคมชัดของภาพยิ่งสูงขึ้นตาม

ภาพที่แสดงบนจอจะมี Resolution อยู่ที่ 72 DPI แต่ถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์นั้นควรใช้ Resolution อยู่ที่ 300 DPI ภาพที่ได้ออกมาจะมีความคมชัดและให้รายละเอียดที่ดี

Pre Printery5
Pre Printery6

3. ระยะขอบและระยะตัดตก (Margin & Bleed)

ระยะขอบ (Margin)  ควรวางตัวหนังสือหรือรูปที่ต้องการพิมพ์ไว้ใน Safe zone คือจะอยู่ด้านในของชิ้นงาน (Artboard) เข้ามาสัก 3-4 มม. เพราะจะปลอดภัยต่อการคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน 

Pre Printery8

ระยะตัดตก (Bleed) เป็นอีกหนึ่งระยะที่เราควรทราบไว้เพื่อเผื่อพื้นหลังชิ้นงาน (ฺBackground) ให้ใหญ่กว่า Artboard สัก 3-4 มม. เพื่อกันการเกิดขอบขาวหลังพิมพ์และความคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน

ระยะตัดตก

4. เปลี่ยน Font ให้เป็น Graphic (Create Outline & Convert to Shape)

งานที่ต้องการส่งให้โรงพิมพ์ทำการพิมพ์นั้น หากมีตัอักษรอยู่ในงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตัวอักษร(Font) เพี้ยน  ก่อนที่เราส่งงานให้โรงพิมพ์ควรแปลงตัวอักษร (Font) ให้เป็น วัตถุ (Object) ก่อนทุกครั้ง แต่มีจุดควรระวังไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่เราทำการแปลงแล้วนั้น เราจะไม่สามารถแก้ไขตัวอักษรได้อีก ถ้าใช้โปรแกรม Photoshop คำสั่งในการเปลี่ยนคือ Convert to Shape แต่ว่าถ้าใช้โปรแกรม Illustrator จะชื่อคำสั่งว่า Create Outline

Pre Printery9
Pre Printery10

5. ฝังไฟล์รูปภาพ (Include Linked Files)

การฝังไฟล์รูปภาพ (Include Linked Files) ในไฟล์งานเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการเปิดไฟล์แล้วโปรแกรมถามหารูป หรือรูปสูญหาย เนื่องจากเราไม่ได้แนบไฟล์รูปไปให้ด้วย แต่หากได้ทำการฝังไฟล์ปัญหาแบบนี้ก็จะไม่เกิด

ข้อควรระวัง การฝังไฟล์ จะเหมาะกับไฟล์งานเล็ก ๆ แต่ถ้าไฟล์งานใหญ่ไม่ควรฝังไฟล์ ควรแนบไฟล์รูปไปให้ด้วยมากกว่า เนื่องจากจะทำให้ไฟล์หนักเกินไป

Pre Printery11

อย่างไรก็ตาม การที่เราตรวจสอบความถูกต้องให้ละเอียด และทำการตกลงการพิมพ์งานให้ชัดเจน จะทำให้เราและทางโรงพิมพ์สามารถลดความผิดพลาดของชิ้นงานได้ เพราะการที่เราเตรียมตัวให้พร้อมที่จะส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ จะช่วยให้งานเราดำเนินได้ไปอย่างรวดเร็วนั่นเองครับ

อยากอ่านต่อ

คอนเทนต์ใหม่ล่าสุด

สอน Online Workshops จากทีม JaLearn

ในช่วง โควิด-19 ทาง JaLearn ได้จัดการสอน Workshop แบบออนไลน์ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ในหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างมีคุณภาพ มีอะไรบ้างมาดูกัน

วิธีทำ 3D ง่าย ๆ ด้วย Ai

ใครว่า 3D ทำยาก!! วันนี้ทาง Jalearn ได้หาขั้นตอนการทำ 3D ง่าย ๆ ใน Ai เพียงไม่กี่ขั้นตอนมาฝากทุกคน เผื่อใครที่กำลังรู้สึกอยากเพิ่มลูกเล่นให้งานให้ดูมีอะไรมากยิ่งขึ้น

Scroll to Top
Logo JL 2

เข้าสู่ระบบเพื่อเริ่ม Learn